Search
Close this search box.

USDT เครื่องมือที่มีความเสี่ยงในการฟอกเงิน

เพื่อน ๆ อาจทราบจากข่าว ในประเทศไทย ว่า บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีการฟอกเงินและจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งต่อมา เอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ว่า “พบเส้นทางการเงินผิดปกติกว่า 247,911,936 USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาท ถูกโอนออกไปก่อนที่ “โค๊ชแล็ป” ดิไอคอน จะถูกจับเพียง 1 ชั่วโมง”

อย่างไรก็ตาม ต่อมา นายปรมินทร์ อินโสม ผู้ร่วมก่อตั้ง และอดีตผู้บริหาร บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ส่วนตัวเช่นกันว่า “เห็นข่าวธุรกรรม USDT ผิดปกติ เลยลองเช็คดูจาก 1 ใน 4 ธุรกรรม ปรากฏว่าโอนเข้า Binance Hot Wallet เลยไม่ดูต่อแล้ว เพราะ สรุปคือไม่ได้ธุรกรรมผิดปกติ ตรงไหนบางทีก็เข้าใจว่าจะสร้างข่าว แต่ก็ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย”

การทำธุรกรรมผ่านเหรียญ USDT เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่า เพราะอะไร ทำไมดิไอคอนต้องแปลงเงินสดเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ? เส้นทางการเงินที่เกิดขึ้นผิดปกติจริงไหม ? และเงินสกุล USDT คืออะไร มีความน่าสนใจอย่างไร?

ก่อนอื่น ในหลายๆ กรณี USDT (Tether) ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่มีความเสี่ยงในการฟอกเงิน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามรายงานล่าสุดของสหประชาชาติ พบว่าความสะดวกในการโอนเงิน ความเป็นส่วนตัว และค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ทำให้ USDT เป็นที่นิยมในกลุ่มอาชญากรและกลุ่มอาชญากรรมที่จัดระเบียบ รายงานยังชี้ให้เห็นว่า USDT มักถูกใช้ในการพนันออนไลน์และกิจกรรมการเงินใต้ดิน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินที่ผิดกฎหมายโดยไม่ต้องเผชิญกับการควบคุมที่เข้มงวด

นอกจากนี้ หน่วยงานทางกฎหมายในประเทศจีนได้เตือนเกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง USDT ในการโอนเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นและความเสี่ยงทางกฎหมายสำหรับผู้ใช้ ตามที่ผมได้เคยเขียนบอกไปก่อนหน้านี้ ในหัวข้อ “ธนาคารใต้ดิน” ครับ

เพื่อนๆ ครับ เราต้องทำความเข้าใจกันหน่อยว่า เจ้า USDT นั่น คือ หนึ่งใน Stablecoin

“Stablecoin” คือสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกออกแบบมาให้มีค่าคงที่หรือใกล้เคียงกับมูลค่าของสินทรัพย์อื่น เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ทองคำ หรือเงินเฟียต (fiat money) โดยเป้าหมายหลักของ Stablecoin คือการลดความผันผวนที่พบได้บ่อยในสกุลเงินคริปโตอื่นๆ เช่น Bitcoin หรือ Ethereum

ประเภทของ Stablecoin:

  1. Fiat-backed Stablecoin – ผูกมูลค่าไว้กับ Fiat เช่น USDT, USDC ซึ่งมีเงินสำรองเป็นดอลลาร์เพื่อค้ำประกันมูลค่าของมัน
  2. Crypto-backed Stablecoin – ใช้สกุล crypto เป็นหลักประกัน เช่น DAI ที่ใช้ Ethereum เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน
  3. Algorithmic Stablecoin – มูลค่าถูกควบคุมโดยอัลกอริทึม เช่น Terra (ก่อนล่มสลาย) ซึ่งปรับปริมาณเหรียญในระบบเพื่อรักษามูลค่า

ข้อดีของ Stablecoin คือสามารถทำให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงความผันผวนของ Crypto ได้ แต่ยังคงความสะดวกในการใช้งานแบบดิจิทัล เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ หรือการซื้อขายสินทรัพย์ในโลก Crypto. ด้วยเหตุผลที่การโอนเงินหรือทำธุรกรรมระหว่างประเทศโดยใช้เงินดอลลาร์ อาจช้ากว่า และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้ Stablecoin เนื่องจากต้องผ่านตัวกลางทางการเงิน เช่น ธนาคาร หรือระบบ SWIFT ดังนั้น นักธุรกิจจึงหันมานิยมการโอนเงินระหว่างประเทศโดยผ่าน Crypto กันเพิ่มมากขึ้น

ประเด็นหลัก ที่ระบุถึงข้อแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างการโอนเงินระหว่างประเทศโดยผ่าน Crypto หรือโดยผ่านเงิน USD ก็คือ:

  1. มูลค่าที่คงที่: Stablecoin ถูกออกแบบมาให้มีมูลค่าเทียบเท่ากับ USD (หรือทรัพย์สินอื่น) โดยตรง ขณะที่ USD นั้นถูกควบคุมโดยรัฐบาลและตลาดโลก
  2. การกระจายศูนย์: Stablecoin สามารถโอนผ่านระบบบล็อกเชนที่ไม่มีตัวกลาง ทำให้รวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่า ขณะที่ USD ยังต้องใช้ระบบธนาคารแบบดั้งเดิม
  3. การใช้งานในโลกดิจิทัล: Stablecoin สามารถใช้ในโลกคริปโตได้สะดวก เช่น การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi (Decentralized Finance) ในขณะที่ USD ใช้ในเศรษฐกิจโลกจริง

พอผมพูดมาถึงจุดนี้ เพื่อนๆ ก็ คงอยากถามว่า แล้ว Stablecoin มันจะมีค่าเทียบเท่ากับ USD สำหรับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน หรือไม่ หรือว่า ค่าของมันจะแตกต่างกัน คำตอบง่ายๆ ก็ คือ เขาออกแบบมา ให้ Stablecoin มีค่าเทียบเท่ากับ USD นั่น หมายความว่ามันสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินในบางด้าน โดยเฉพาะในโลกดิจิทัลและการใช้สกุลเงิน crypto ความเสถียรภาพที่เกิดจากการที่ Stablecoin ถูกผูกมูลค่าไว้กับ USD นั้นสามารถมีผลในหลายแง่มุม ดังนี้:

  1. ลดความผันผวน: ในขณะที่สกุลเงินคริปโตทั่วไป เช่น Bitcoin หรือ Ethereum มักมีความผันผวนสูง การมี Stablecoin ที่มีค่าเท่ากับ USD ช่วยให้ผู้ใช้สามารถถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่ฉับพลัน ทำให้มันเป็นเครื่องมือที่น่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับการโอนเงินและการเก็บออมในระบบคริปโต
  2. สะพานเชื่อมโลกคริปโตกับระบบการเงินดั้งเดิม: Stablecoin เช่น USDT หรือ USDC ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญระหว่างระบบการเงินดั้งเดิมและโลกคริปโต ด้วยการที่มูลค่าของมันผูกกับ USD ผู้ใช้งานสามารถโอนหรือแปลง Stablecoin เป็นเงินสดหรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นได้ง่ายขึ้น การทำเช่นนี้ช่วยลดแรงเสียดทานและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสกุลเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศ
  3. สนับสนุนการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi): Stablecoin มีบทบาทสำคัญในแพลตฟอร์ม DeFi ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกู้ยืม ยืมให้ หรือทำสัญญาการเงินต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร ด้วยการที่ Stablecoin มีความเสถียร ทำให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่เสี่ยงต่อความผันผวนของคริปโตในระหว่างกระบวนการ
  4. การใช้งานเป็นเงินสดดิจิทัล: Stablecoin สามารถทำหน้าที่เป็นเงินสดดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้สามารถใช้ Stablecoin เพื่อซื้อสินค้าและบริการได้ในหลายแพลตฟอร์ม นี่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและลดการพึ่งพาธนาคารหรือระบบการเงินดั้งเดิม

ด้วยคุณสมบัติและลักษณะของ Stablecoin พวกนี้ ผมจึงเข้าใจว่า “โค๊ชแล็ป” น่าจะเอาความสะดวกในการแลกเปลี่ยนจากเงินสด ไปยัง USDT แทนครับ เพราะมันสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนในตลาดการเงินได้ และก็มีความสัมพันธ์เชื่อมกับเงิน USD โดยตรง ครับ แต่จะเป็นการฟอกเงินหรือไม่ มันอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการโอนเงิน ครับ จะมากล่าวรวมๆ ว่า การเปลี่ยนจาก เงินสด ไปเป็นเงินดิจิทัล ในสกุลของ USDT แล้วจะถือเป็นการฟอกเงิน ผมคิดว่า มันออกจะไม่เข้าระบบการเงิน Digital เท่าไห่ร ครับ

การซื้อขาย USDT (Tether) สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้:

  1. เลือกแพลตฟอร์มการซื้อขาย: เลือกใช้บริการจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ เช่น Binance, Bitfinex หรือแพลตฟอร์มในประเทศที่รองรับการซื้อขาย USDT.
  2. เปิดบัญชี: ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนตามขั้นตอนที่แพลตฟอร์มกำหนด.
  3. ฝากเงิน: ฝากเงินเข้าสู่บัญชีของคุณ โดยสามารถฝากเป็นสกุลเงิน fiat หรือ cryptocurrency อื่น ๆ ที่แพลตฟอร์มรองรับ.
  4. ซื้อ USDT: เมื่อเงินฝากเข้าบัญชีแล้ว ให้เลือกคู่การซื้อขาย (เช่น BTC/USDT หรือ USD/USDT) และทำการซื้อ USDT ตามจำนวนที่ต้องการ.
  5. เก็บรักษา: สามารถเก็บ USDT ในกระเป๋าเงินของแพลตฟอร์มหรือโอนเข้ากระเป๋าเงินส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย.
  6. ติดตามราคา: คอยติดตามราคาของ USDT และวางแผนการขายหรือแลกเปลี่ยนในอนาคตตามความต้องการ.

การแลกเปลี่ยนจากเงินสด ไปยัง USDT เราก็ยังสามารถตรวจสอบการโอน และ ยึด ได้นะ ครับ การตรวจสอบการโอนและยึด USDT (Tether) สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้:

ตรวจสอบธุรกรรม:

  1. ค้นหาที่อยู่กระเป๋าเงิน: ใส่ที่อยู่กระเป๋าเงินใน blockchain explorer หรือ Tronscan เพื่อค้นหาที่อยู่กระเป๋าเงินที่เกี่ยวข้องกับ USDT และดูประวัติการโอนที่เกิดขึ้น โดยสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการโอนเงินจากที่อยู่ใดไปยังที่อยู่ใด และจำนวนเพื่อดูประวัติการทำธุรกรรม.
  2. ตรวจสอบสถานะธุรกรรม: ดูสถานะของธุรกรรม เช่น “unconfirmed” หรือ “confirmed” และจำนวนการยืนยัน (confirmations) ที่ได้รับ.
  3. ติดตามเส้นทางการเงิน: หากมีความสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินหรือกิจกรรมผิดปกติ สามารถติดต่อบริษัท Tether ได้ครับ เพื่อขอให้ช่วยในการอายัดบัญชีที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก Tether มีอำนาจในการสกัดกั้นการทำธุรกรรมในกรณีที่มีความผิดปกติ.
  4. ใช้ KYC ในการแลกเปลี่ยน:
    • หากมีการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน (Exchange) ผู้ใช้จะต้องผ่านกระบวนการ KYC (Know Your Customer) ซึ่งช่วยให้สามารถระบุเจ้าของบัญชีและตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินได้. เราก็สามารถตรวจสอบได้ครับ

โดยสรุปแล้ว การตรวจสอบและติดตามธุรกรรม USDT สามารถทำได้อย่างโปร่งใสผ่านเทคโนโลยี blockchain แต่ก็ต้องมีความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดการกับกรณีที่มีความผิดปกติ. การตรวจสอบการโอน USDT ในระบบ blockchain คือกระบวนการติดตามและยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่าย blockchain ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า blockchain explorer เช่น Etherscan หรือ Tronscan เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆ เช่น ที่อยู่กระเป๋าเงินที่ส่งและรับ USDT รวมถึงจำนวนเงินที่โอน

กิตติ ปิณฑวิรุจน์​ / เขียนบทความ

แบ่งปันบทความนี้