นี่คือหนังสืออีกเล่มหนึ่งใน collection หนังสือที่ผมอ่านครับ หนังสือ “The 38 Letters from J.D. Rockefeller to His Son” ถือเป็นหนังสือที่ดีด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการบริหารธุรกิจ การเงิน และการพัฒนาตนเอง มันเป็นหนังสือที่รวบรวมคำสอน คำแนะนำ และ เน้นเรื่องคุณค่า และหลักการในการดำเนินชีวิต และธุรกิจ แต่ที่ผมประทับใจมากคือ หนังสือเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและความรักของ Rockefeller ที่มีต่อลูกชายของเขา
John D. Rockefeller ถือเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Standard Oil และถือเป็นนักอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคของเขา หนังสือเล่มนี้รวบรวมจดหมาย 38 ฉบับที่เขาเขียนถึงลูกชาย ซึ่งมีเนื้อหาที่สะท้อนถึงความคิด ประสบการณ์ และคำแนะนำจากมุมมองของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด การได้เรียนรู้จากคำแนะนำและมุมมองของเขาถือเป็นโอกาสอันมีค่าสำหรับผู้อ่าน ในจดหมายของ Rockefeller ไม่เพียงแต่กล่าวถึงเรื่องธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหลักการที่เขาใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การทำงานหนัก และการบริหารเงิน เขาเน้นว่าความสำเร็จไม่ได้มาจากความมั่งคั่งเท่านั้น แต่ยังมาจากการมีหลักการที่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต หลักการเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์ เขาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและความเป็นผู้นำ Rockefeller ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เขาสอนให้ลูกชายของเขารู้จักการตั้งเป้าหมาย การคิดอย่างรอบคอบ การพัฒนาทักษะต่างๆ และการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน
ผมคิดว่า หนังสือนี้ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมาและชัดเจน Rockefeller เขียนด้วยความจริงใจและมีเจตนาที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ลูกชายของเขา ผู้อ่านจะได้รับมุมมองที่ลึกซึ้งและเฉียบคมเกี่ยวกับโลกของธุรกิจ การเงิน และการดำเนินชีวิตจากมุมมองของผู้ที่มีประสบการณ์มากมาย
ในการอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมประทับใจมากต่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและความรักของ Rockefeller ที่มีต่อลูกชายของเขา การที่เขาเขียนจดหมายเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยและความตั้งใจที่จะสอนและแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าแก่ลูกชาย การอ่านจดหมายเหล่านี้ทำให้ผู้อ่านได้เห็นมุมมองเกี่ยวกับการเป็นพ่อแม่และการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ลูกหลาน
หนังสือ “The 38 Letters from J.D. Rockefeller to His Son” เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและคำแนะนำที่มีค่าแก่ผู้อ่านในหลายด้าน ทั้งในเรื่องของการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ การเป็นผู้นำ และการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์และคำแนะนำของหนึ่งในนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นที่น่าสนใจและมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองทั้งในด้านอาชีพ และ ชีวิตส่วนตัว ครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆไม่มีเวลาว่าง ผมก็จะเล่าให้ฟังแบบย่อยๆก็แล้วกัน …. ไปกันเลยครับ
1. เงินมีไว้เพื่อสร้างความสุข ไม่ใช่ซื้อความสุข:
“คนที่มีความสุขอย่างแท้จริง คือ คนที่สามารถเพลิดเพลินกับผลงานที่ตนสร้างขึ้น ผู้ที่ทำตัวเหมือนฟองน้ำที่รับ แต่ไม่เคยให้ จะเป็นได้เพียงผู้ที่สูญเสียความสุข”
2. ค้นหาเส้นทางของคุณเอง:
“หากคุณต้องการประสบความสําเร็จ คุณควรออกเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่ แทนที่จะเดินทางบนเส้นทางที่เสื่อมโทรมของความสําเร็จที่เคยได้รับการยอมรับ” ฟังดูเหมือนประเทศไทยเลยครับ
3. ให้ความสําคัญกับการทํางานหนัก:
“สวรรค์และนรกถูกสร้างขึ้นโดยตัวเราเอง หากคุณให้ความหมายกับการงานของคุณ คุณจะรู้สึกมีความสุขโดยไม่คํานึงถึงความหนักหนาสาหัสของงาน และคุณจะรู้สึกเติมเต็มไม่ว่าคุณจะได้ผลลัพธ์ใด” ผมว่ามันจริงมากครับ
4.การผัดวันประกันพรุ่ง ฆ่าความทะเยอทะยาน:
“ไม่ว่าความทะเยอทะยานของคนๆ หนึ่งจะมีมากแค่ไหน…เมื่อเริ่มต้นแล้ว ความก้าวหน้าไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งงานยิ่งยาก หรือเป็นงานที่ไม่ค่อยสบายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเร่งด่วนมากขึ้นที่ต้องทำให้สำเร็จเท่านั้น หากยิ่งเขารอนานเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งทำให้งานยากและน่ากลัวมากขึ้นเท่านั้น” การผัดวันประกันพรุ่งจะเป็นหายนะที่บ่อนทำลายความทะเยอะทะยานของคุณเป็นลำดับๆ
5. ให้ความสําคัญกับประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง:
“การศึกษาครอบคลุมหลายแง่มุม แต่ไม่ได้สอนอะไรคุณเลย” ความรู้ในตำราไม่มีค่ามากเท่ากับประสบการณ์จริง
6. มุ่งเน้นไปที่สิ่งสําคัญ:
“พวกเราหลายคนล้มเหลวในชีวิตและหน้าที่การงาน เพราะ เราขาดสมาธิ—ศิลปะของการมุ่งเน้นจิตใจในสิ่งที่ต้องทําในเวลาที่เหมาะสมและเพื่อแยกแยะมันออกสิ่งอื่นๆ จะช่วยให้คุณสามารถที่ concentrate ในงานที่ทำจนสำเร็จ
7. เริ่มต้นด้วยจุดจบในใจ:
“อย่าทําขั้นตอนแรกโดยไม่คิดถึงขั้นตอนสุดท้าย” หากคิดจะเดินหน้าทำอะไร ให้มองถึงเวลาจะถอยกลับด้วย ครับถึงจะไม่พลาด
8. ปรับตัวได้:
“ฉันไม่คิดว่ามีคุณสมบัติอื่นใดที่จําเป็นต่อการประสบความสําเร็จใดๆเท่ากับคุณภาพของความเพียรพยายาม”
9. ตอบแทน:
“คิดว่าการให้ไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นสิทธิพิเศษ” การมองว่าการให้เป็นสิทธิพิเศษแทนที่จะเป็นหน้าที่ช่วยให้เราสร้างทัศนคติที่ดีต่อการช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้เราเต็มใจที่จะให้มากขึ้น และเกิดความสุขจากการให้ การเปลี่ยนทัศนคตินี้ทำให้การให้กลายเป็นประสบการณ์ที่มีความหมายและสร้างสรรค์ทั้งต่อผู้ให้และผู้รับ
10. Perfectionism prevents action – ความสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งดีเลิศขัดขวางการกระทํา:
“เห็นได้ชัดว่าบางคนไม่ฉลาดพอ พวกเขามีความทะเยอทะยานแต่จู้จี้จุกจิกกับงานของพวกเขามากเกินไป พวกเขามองหานายจ้างหรืองานที่ “สมบูรณ์แบบ” อยู่เสมอ” คนเหล่านี้จะกลัวความล้มเหลวและการถูกวิจารณ์ มักจะตั้งเป้าหมายที่ไม่เป็นจริงและยากเกินไป วิเคราะห์มากเกินไป ให้ความสำคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไป
ดังนั้น “Perfectionism prevents action” เป็นการเตือนให้เราตระหนักว่า การมุ่งมั่นต่อความสมบูรณ์แบบเกินไปสามารถเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่กล้าลงมือทำสิ่งต่างๆ และ การเปลี่ยนทัศนคติให้เปิดกว้างต่อความไม่สมบูรณ์แบบและมุ่งเน้นการทำให้ได้จริงมากกว่าความสมบูรณ์แบบจะช่วยให้เราก้าวข้ามความกลัวและทำสิ่งที่ต้องการได้มากขึ้น
ผมคิดว่าผมจบตรงนี้ก่อนแล้ว ค่อยเขียนต่อนะครับ มันยังอีกยาวเลยครับ
กิตติ ปิณฑวิรุจน์ / เขียนบทความ