ช่วงนี้ เพื่อนๆ จะเห็นผมจะวิเคราะห์เรื่อง “ทองคำ” มาก ไม่ใช่อะไร ครับ เพื่อนๆ ที่สนิทกันมักจะมาสอบถามกันอยู่บ่อย ๆ ก็เลยนึกสนุ วิเคราะห์ให้ฟังตาม ไม่รู้ถูกหรือ ผิด อาจจะมั่ว ก็ได้ ใครจะไปรู้ได้ จริงไหมครับ
ราคาทองคำ จากที่ผมสังเกต ก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไปหลายครั้ง และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ขึ้นไป all time high อีกครั้ง ไม่ใช่อะไร ครับ ก็เนื่องจากเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขึ้นในแบบนี้ มันมีความแตกต่างจากที่เคยมีมาก่อนในอดีต มันเป็นความสัมพันธ์ผกผันจากแบบเดิมๆ ผมคิดว่า มันน่าจะมีบางอย่างแปลกตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้ว เพราะราคาทองคําก็ขึ้นตรงตั้งแต่นั้นมาเป็นต้นมาครับ พอเรามองลึกๆ ลงไป เรากลับเห็นว่า ในขณะนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศ ถือทองคํา ในฐานะเงินสํารองทั่วโลกราว 12.1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 และ เปอร์เซ็นต์นี้พุ่งสูงขึ้นในปีนี้และเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งประเทศจีน อินเดีย ตุรกี และโปแลนด์ เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในการซื้อทองคําของธนาคารกลางโลก
ทำให้ตอนนี้ มีปริมาณทองคําคิดเป็น 5.4% ของเงินสํารองเงินตราต่างประเทศของจีนและสูงถึง 2,264 ตันในปี 2024 ซึ่งเป็นสถิติใหม่ ในขณะเดียวกัน ราคาทองคําแตะระดับสูงสุดตลอดกาลถึง 35 ครั้งตั้งแต่ปีจนถึงปัจจุบันและปรับตัวขึ้น 33%
ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงสะสมทองคำอย่างต่อเนื่อง ครับ ทำให้เกิดการพุ่งขึ้นของปริมาณทองคํา เป็นประวัติการณ์ด้วยการซื้อทองคํามากกว่า 1,000 ตันโดยธนาคารกลางในปี 2022 และ 2023 เพื่อนๆ ดูได้จากกราฟ นี้ ครับ
โดยความจริงแล้ว ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้เพิ่มการถือครองทองคํามาหลายปีแล้ว แต่ในบางประเทศนั้น เพื่อนๆ จะเห็นแนวโน้มนี้เพิ่มขึ้นหลังจากสินทรัพย์ของธนาคารกลางของรัสเซีย ถูกยึด ในช่วงของสงครามยูเครน มันทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มที่จะพยายามกระจายการถือครอง Forex ให้ห่างจากดอลลาร์สหรัฐ และตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนของทองคําในทุนสํารองระหว่างประเทศโดยรวมอย่างแข็งขัน
ทำไมหลายประเทศ ถึงไม่ค่อยไว้วางใจในเงินดอลลาร์ ครับ เรามาพิจารณาเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน ในสหรัฐฯ กันบ้างดีกว่า กล่าวคือ หนี้ ครัวเรือน ครับ ดูๆ ประเทศไทย จะมีลักษณะแบบนี้ครับ หนี้บัตรเครดิตสหรัฐพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ 628 พันล้านดอลลาร์ ตอนนี้ค้างชําระหรือ roll over ทุกเดือน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยอดคงเหลือหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 204 พันล้านดอลลาร์ หรือ 52% สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของหนี้บัตรเครดิตพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 25% จาก 15% ในช่วงเวลานี้ ในขณะเดียวกัน ราคาข้าวของในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นประมาณ 20% โดยเฉลี่ย ซึ่งผลักดันให้การซื้อด้วยบัตรเครดิตสูงขึ้น
แต่ ในขณะเดียวกัน ที่เงินออมส่วนเกิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์หมดลง เพิ่มการพึ่งพาหนี้ในอนาคตมาใช้จ่ายกันมากขึ้น ครับ ดังนั้น
ผู้บริโภคสหรัฐกําลัง “ต่อสู้กับ” ราคาข้าวของที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ด้วย เงินในอนาคต หรือ นั่นคือ หนี้สิน ครับ ฟังดูคล้ายๆ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ในประเทศไทย หรือไม่ ?
อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบัตรเครดิตเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กระเป๋าของแต่ละคนก็ ตึงตัว และ ความเครียดทางการเงินเพิ่มขึ้น ชาวอเมริกันจํานวนมากขึ้นกําลังชะลอในการชําระเงินด้วยบัตรเครดิต ข้อมูลล่าสุดสําหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2024 เมื่อดูภาพสุขภาพทางการเงินของผู้บริโภค โดยอัตราการผิดชําระบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.25 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญจากไตรมาสก่อนหน้าและแสดงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล 17.33 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
การเพิ่มขึ้นของการผิดนัดชําระหนี้ไม่น่าแปลกใจเมื่อพิจารณาจากภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 27 เปอร์เซ็นต์ ถึง 16.23 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเรานำข้อเท็จจริง ทั้ง 2 ส่วน มาพิจารณาร่วมกัน เราจะเห็นว่า การรวมกันของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการผิดนัดชําระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนี้ มันบ่งชี้ แสดงให้ เรา เห็นว่า ผู้บริโภคจํานวนมากในประเทศสหรัฐฯ กําลังดิ้นรนเพื่อให้ทันกับภาระผูกพันทางการเงินของพวกเขา
สิ่งนี้ ครับ ผมจึงมองว่า อัตราการผิดชําระหนี้ของบัตรเครดิต มันเป็นสัญญาณเตือนสําหรับแรงกดดันทางเศรษฐกิจในวงกว้าง แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ครับ รวมถึงประเทศไทยเราด้วยครับ
อีกสิ่งหนึ่ง ที่ผมอดจะพูดไม่ได้ คือ ผมเริ่มเห็นว่า นักลงทุนได้เพิ่มจำนวนเงินสุทธิกว่า 29.98 พันล้านดอลลาร์ วิ่งไปยังกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund). ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิครั้งที่ 4 ใน 5 สัปดาห์ ตามข้อมูลของ LSEG การเพิ่มขึ้นนี้ ผมมองว่า มันเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กําลังจะมาถึงและการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ทําให้เกิดตระหนก เพื่อนหาสถานที่ปลอดภัยในการลงทุนมากยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม เราเริ่มเห็นการไหลออกของเงินจากกองทุนตราสารทุน ไหลออกสุทธิถึง 2.54 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน การไหลเข้าล่าสุดในกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) ถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยสําคัญหลายประการ
- ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ: ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กําลังจะมาถึงได้กระตุ้นให้นักลงทุนแสวงหาตัวเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น อีกทั้ง ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกมีความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนมักหันมาลงทุนในกองทุนตลาดเงิน ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อรักษาสภาพคล่องและคุ้มครองเงินลงทุน
- การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย: การประเมินความคาดหวังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐใหม่ จะทําให้กองทุนตลาดเงินน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับบัญชีออมทรัพย์แบบดั้งเดิม เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น กองทุนตลาดเงินจะให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจมากขึ้น จึงเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะสั้น
- ความต้องการสภาพคล่อง: กองทุนตลาดเงินให้สภาพคล่องสูง ทําให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงเงินสดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจําเป็นในสภาวะตลาดที่ผันผวน ในขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มผันผวน สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น อาจไม่ให้ผลตอบแทนที่มั่นคงเท่าที่ควร นักลงทุนจึงหันมาลงทุนในกองทุนตลาดเงินที่มีความปลอดภัยกว่าและคาดการณ์ได้มากกว่า
- การจัดการพอร์ตการลงทุน ในช่วงที่มีการปรับปรุงพอร์ต นักลงทุนมักจะเลือกใช้กองทุนตลาดเงินเพื่อพักเงินชั่วคราวจนกว่าจะเห็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจใหม่
ดังนั้น การโอนเงินจากตลาดทุน ไปยัง ตลาดเงิน ในช่วงนี้ น่าจะเป็นการปรับ portfolio เพื่อรอผลการเลือกตั้ง และเพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถประคลองสภาพคล่องทางการเงิน ในช่วงเศรษฐกิจผันผวนและหนี้สินมากมาย นี้ ดังนั้น ในสภาพเช่นนี้ เราจะเห็นเงินเริ่มไหลออกจากตลาดทุน มากขึ้น และไปยังตลาดเงิน ทองคำ และ bitcoin ครับ
ปล อย่าเชื่อผมนะ ครับ และ โปรดอย่าแชร์ด้วย ถ้ารักกันจริงๆ ครับ สังเกตมั๊ย ว่า ผมไม่ลงชื่อ สักพักแล้ว เพราะ กลัว ครับ ๕๕๕๕๕๕๕ เพราะบอกว่าอย่าแชร์ ก็มีคนไปแชร์ จนมีคนถามหาว่า ผมคือ ใคร ๕๕๕๕๕๕๕ น่ากลัว ……ครับ
กิตติ ปิณฑวิรุจน์ / เขียนบทความ
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันฯ