ชีวิตทั้งชีวิตช่างวุ่นวายอยู่กับเรื่องเงินๆทองๆ อายุมากไปก้อมีปัญหา อายุสั้นก้อเกิดปัญหา ที่ทุกคนต้องแบกรับเอาไว้แตกต่างกัน โดยที่ทุกคนทำงานมี “รายได้” จากนั้นนำรายได้ไปเป็น “รายจ่าย” ให้กับภาระที่มี ส่วนเกินที่เหลือก็เป็นไว้เป็น “เงินออม” เพื่อไว้ใช้ยามจำเป็น หรือใช้ในยามเกษียณอายุ จำนวนเงินจะมากน้อยขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ทั้งนี้ทุกสิ่งอย่างย่อมจะเป็นไปด้วยดีแบบนี้เรื่อยๆ
อายุมากไปก้อมีปัญหา
ทีแรกคิดว่าอายุสั้นมันไม่ดี แต่อายุยืนก็มีทั้งดีและไม่ดี การมีอายุยืนแน่นอนว่าใครๆ ก็ปราถนา แต่หากมองอีกด้านของการมีอายุยืนก็มักมีปัญหาพ่วงมาด้วย นั่นคือ “เรื่องค่าใช้จ่ายยามชรา” ที่ไม่ได้มีการ เตรียมเอาไว้ให้พอดี (เงินหมดก่อนอายุขัย) กลับต้องมาอยู่แบบขัดสน เป็นภาระลูกหลานและสังคม
ดังนั้นหากอายุยิ่งยืนเท่าใด ก็จะยิ่งต้องเตรียมการสำหรับอนาคตเผื่อไว้ให้มากขึ้น จากสถิติตารางมรณะคนไทยสำหรับบริษัทประกันชีวิต พบว่า เด็กในช่วงอายุ 0-6 ปี มีอัตราเสียชีวิตสูง แต่ค่อยๆ ลดลงเรื่อยหลังจากนั้น และอัตราเสียชีวิตจะกลับมาเพิ่มอีกทีช่วงอายุ 40-50 ปี ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วยว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ทางสถิติยังบอกอีกว่าผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ผู้ชายเสียชีวิตก่อนผู้หญิง เพราะใช้ชีวิตผาดโผน กล้าเสี่ยง โดยเฉพาะชายในช่วงอายุ 18-40 ปี
อายุสั้นไปก้อเกิดปัญหา
ยกตัวอย่างนักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการที่มีภาระหนี้สินจากการกู้เพื่อนำเงินมาลงทุน หมุนเวียนในธุรกิจ เมื่อสิ้นลมหายใจ แน่นอนว่าภาระหนี้สินยังคงอยู่ดังเดิม แล้วภาระหนี้สินทั้งหมดนี้ใครจะรับผิดชอบ? หากไม่มีการทำประกันชีวิตเอาไว้ และหากเจ็บป่วย และ ประสบอุบัติเหตุย่อมมีผลกระทบต่อการทำงาน และการหารายได้ของคนเรา เมื่อไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายยังมีเท่าเดิมและยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ แบบนี้เกิดปัญหาเรื่องการใช้จ่ายแน่นอน บางคนถึงกับเป็นภาระคนในครอบครัวหรือคนอื่นไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว
“มีชีวิตอยู่ก็ได้ใช้เงิน เสียชีวิตก่อนก็มีเงินให้คนข้างหลัง”
ทำประกันชีวิตไว้สักฉบับเถอะครับ
อ.ฉัตรชัย ผาสุขธรรม / เขียนบทความ
#tiivarietytalk #ทีไอไอทอล์ค #ประกันภัย #ประกันชีวิต #ประกันวินาศภัย