บางคนมีลูกที่ต้องเลี้ยง บางคนทำงานมีความเสี่ยง บางคนมีทรัพย์สินมาก การเลือกประกันที่เหมาะสม ดูจากความต้องการและสภาพแวดล้อมของผู้เอาประกันเป็นหลัก ทึ่เขาอาจต้องรับความคุ้มครองพิเศษ
การทำประกันนั้นอาจถือเป็นหนึ่งในการออมทางเลือก แถม ยังเป็นการรองรับความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย
การพิจารณาทำประกันทั่วไป จะมีการพิจารณาที่อยู่นอกเหนือจากความต้องการและสภาพแวดล้อม คือ
“พิจารณาความเสี่ยง” และ “พิจารณารายได้”
พิจารณาจากความเสี่ยง
ความเสี่ยงในการทำงาน: การทำงานรวมไปถึงการเดินทางก็นับเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง หากทำงานใกล้บ้าน งานออฟฟิศ อาจใช้เป็นการทำประกันสุขภาพ ที่มีความเกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าออกต่างจังหวัดบ่อย งานมีความเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิต
ความเสี่ยงด้านสุขภาพ: สำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต ครอบครัวต้องพึ่งพิงรายได้ของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นหลัก เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรืออุบัติเหตุ ควรจะทำประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายครอบครัวต่อปี คูณด้วย 5 ปี ได้เท่าไหร่นั้นก็คือทุนประกันชีวิตที่ควรจะมีเพื่อให้คนข้างหลังสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติและมีเวลาตั้งตัวได้ หากเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องส่งนั้นสูงเกินกว่าที่จะส่งไหวก็ยังไม่จำเป็นต้องทำทุนประกันสูงถึงที่คำนวณไว้ให้เริ่มจากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตน้อยๆ และเมื่อจ่ายไหวค่อยทำประกันชีวิตฉบับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม
พิจารณารายได้
ประกันที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่ประกันที่แพงที่สุด หลายคนก็เลือกจะทำประกันที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องจ่ายเบื้ยประกันสูงตาม เราอาจมั่นใจกับการประกันภัยดังกล่าวในระยะสั้น ทว่าระยะยาวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือ 10-20% ของรายได้
การเลือกประกันที่ถูกต้องจะต้องพิจารณาความเสี่ยงของบุคคล และรายได้ที่เหมาะสมกับกรมธรรม์ และสอดคล้องกับตัวผู้ทำประกันนั่นเอง
อ.ฉัตรชัย ผาสุขธรรม / เขียนบทความ
#tiivarietytalk #ทีไอไอทอล์ค #ประกันภัย #ประกันชีวิต #ประกันวินาศภัย