หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนระบบประกันภัยไทย สู่การปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม และ ยั่งยืน คือ ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานแบบบูรณาการ
หากมองย้อนไปในปี 63 ประกัน เจอ จ่าย จบ เริ่มต้นจาก 1 บริษัทประกันภัย และ 1 โบรกเกอร์ โดยในปี 63 สามารถสร้างเบี้ยประกันได้มากกว่า 4,000 ล้านบาท แต่มียอดเคลมประมาณ 100 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทประกันรายอื่น ๆ ขายประกัน เจอ จบ จบ กันมากขึ้น เนื่องจากสร้างยอดขายได้เป็นอย่างดี
โดยทาง คปภ.มีการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) กับบริษัทประกัน ซึ่งตอนนั้นพบว่า บริษัทยังมีความแข็งแกร่ง และ รองรับวิกฤติความเสี่ยงได้ โดยหากเกิดความเสี่ยงอย่างแรก คือ การเพิ่มทุน
จากการบริหารความเสี่ยงด้วยประกัน” โดย ถอดบทเรียนประกันภัย Covid-19 เจอ จ่าย จบ และ แนวทางการขับเคลื่อนระบบประกันภัยที่ยั่งยืน จะพบว่า การเพิ่มประสิทธิผลในการกำกับ ตรวจสอบธุรกิจประกันภัยที่รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น
โดยมี 6 มาตรการ ประกอบด้วย
- มาตรการที่ 1 คือ การเสริมสร้างความทนทานยืดหยุ่นและเสถียรภาพของระบบประกันภัย
- มาตรการที่ 2 คือ การปรับปรุงกฎเกณฑ์ และ มาตรการให้เท่าทันบริบทที่เปลี่ยนแปลง และ ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่
- มาตรการที่ 3 คือ ส่งเสริมให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน และ เสริมสร้างศักยภาพให้บริษัทมีความพร้อมในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
- มาตรการที่ 4 คือ ออกคำสั่งนายทะเบียนเกี่ยวกับการตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย โดยการให้ใช้การตีความให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
- มาตรการที่ 5 คือ ยกระดับ และ ปรับปรุงกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัย
- มาตรการที่ 6 คือ กำกับดูแล และ ตรวจสอบธุรกิจประกันแบบ Proactive Actions
“การขับเคลื่อนระบบประกันภัยไทย สู่การปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม และ ยั่งยืน บริษัทประกันภัย สำนักงาน คปภ. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนประชาชน ก็จะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ทุกฝ่ายต้องเรียนรู้ร่วมกันจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้”
อ.ฉัตรชัย ผาสุขธรรม / เขียนบทความ
#tiivarietytalk #ทีไอไอทอล์ค #ประกันภัย #ประกันชีวิต #ประกันวินาศภัย